วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สรุปหน้าที่ผู้ควบคุมงานและคณะกรรมการตรวจการจ้าง

1/8
สรุปหน้าที่ผู้ควบคุมงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535
เขียนโดย  นายสงวน  ศรีสุพรรณ์
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557  เวลา 01:45 น. -

การควบคุมงานก่อสร้าง
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535  และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้กำหนดเรื่องผู้ควบคุมงานไว้ดังนี้
                   ข้อ 37  ระบุไว้ว่า ในการจ้างก่อสร้างแต่ละครั้ง
ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านช่างตามลักษณะของงานก่อสร้างจากข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัด.....................และโดยปกติจะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับประกาศวิชาชีพ..................................
                   ข้อ 73 ผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ ดังนี้
                   (1)  ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น ๆ ทุกวันให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดไว้ในสัญญาทุกประการ โดยสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาช่างเพื่อให้เป็นไปตามรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา ถ้าผู้รับจ้างจะยอมปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่งและให้รายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างทันที
                   (2) ในกรณีที่ปรากฏว่าแบบรูป รายการละเอียดหรือข้อกำหนดในสัญญามีข้อความขัดกัน หรือเป็นที่คาดหมายได้ว่าถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาต่อเมื่อสำเร็จแล้ว
จะไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดี หรือไม่ปลอดภัย ให้สั่งพักงานนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างโดยเร็ว
                   (3)  จดบันทึกสภาพการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน  หรือการหยุดงานและสาเหตุที่มีการหยุดงานอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ และเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุ เมื่อเสร็จงานแต่ละงวดโดยถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่
                  
2/8
สรุปหน้าที่ผู้ควบคุมงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535
เขียนโดย  นายสงวน  ศรีสุพรรณ์
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557  เวลา 01:45 น. -

การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างให้ระบุรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ด้วย
                   (4)  ในวันกำหนดลงมือทำการของผู้รับจ้างตามสัญญา และในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวดให้รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบภายใน  3 วันทำการนับแต่วันถึงกำหนดนั้น ๆ
สรุปหน้าที่ของผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
                   1.  ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น ๆ ทุกวันให้เป็นไปตามสัญญา แบบรูปรายการ รายละเอียดหรือข้อกำหนด
                    2.  สั่งเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม หรือตัดทอนงานจ้าง ตามที่เห็นสมควรและตามหลักวิชาช่างที่ดี เพื่อให้เป็นไปตามสัญญา หากผู้รับจ้างขัดขืน ให้สั่งหยุดงานทั้งหมดหรือบางส่วน แล้วแต่กรณีจนกว่าผู้รับจ้างจะยอมปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่ง และรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบ
                   3.  หากรูปแบบรายการ รายละเอียดประกอบแบบ หรือข้อกำหนดในสัญญาขัดกันให้สั่งพักงานแล้วรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างพิจารณา
                   4.  หากเป็นที่คาดหมายว่า แม้จะก่อสร้างตามสัญญา แต่งานก่อสร้างจะไม่มั่งคงหรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดี ให้สั่งพักงาน  แล้วรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างพิจารณา
                   5.  จัดทำสมุดบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง และเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน พร้อมทั้งขั้นตอนวิธีปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงาน วัสดุที่ใช้
                   6.  จัดทำรายงานประจำสัปดาห์เสนอให้คณะกรรมการตรวจการจ้างพิจารณา      ทุกสัปดาห์ โดยบันทึกอย่างน้อย  2  ฉบับ
                   7.  รวบรวมเก็บรักษารายงานประจำสัปดาห์ เพื่อมอบให้เจ้าหน้าที่พัสดุ เมื่อเสร็จงานแต่ละงวด

3/8
สรุปหน้าที่ผู้ควบคุมงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535
เขียนโดย  นายสงวน  ศรีสุพรรณ์
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557  เวลา 01:45 น. -
                   8.  มอบสมุดบันทึกคุมงานให้กับเจ้าหน้าที่พัสดุ เมื่อส่งงานงวดสุดท้ายเสร็จเรียบร้อย โดยให้มีการลงบันทึกรับสุมดให้เรียบร้อย
                   9.  วันกำหนดลงมือทำการ วันกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวด ผลการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร ให้รายงานคณะกรรการตรวจการจ้างทราบภายใน 3 วัน นับแต่พ้นกำหนดนั้น ๆ การดำเนินงานควบคุมงานก่อสร้าง
                    การควบคุมงานจะต้องมีขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินเป็นไปตามระบบของงานที่มีคุณภาพการปล่อยให้ผู้รับจ้างทำงานข้ามขั้นตอน  อาจมีผลกระทบต่อโครงสร้างทำให้ขาดความมั่นคงแข็งแรงและคุณภาพของงานอาจลดลงไป ไม่สมบูรณ์ตามที่สถาปนิกหรือวิศวกรคาดหวังเอาไว้
                    ขั้นตอนที่จัดเป็นลำดับได้ดังต่อไปนี้
                   1.   ขั้นเตรียมการ
                         ก่อนที่ผู้รับจ้างจะลงมือก่อสร้าง ผู้บริหารจะแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลคนใดคนหนึ่งหรือ 2 คน เป็นผู้ควบคุมงาน ซึ่งผู้ได้รับมอบหมาย  ควรต้องเตรียมการดังต่อไปนี้
                        1.1  เตรียมแบบรูปรายการสำเนาสัญญารายการประกอบสัญญาให้ครบถ้วนพร้อมทั้งสุมดบันทึกการทำงาน แฟ้มเก็บเอกสาร เป็นต้น
                        1.2  ผู้ควบคุมงานควรจะต้องศึกษาแบบรูปรายการ ตลอดจนเงื่อนไขกำหนด และสัญญาอย่างละเอียด
ทำเครื่องหมายและเขียนข้อควรปฏิบัติหรือเตือนใจไว้ให้เห็นชัดเจนไว้ เป็นข้อสังเกต
                   อ่านแบบล่วงหน้าก่อนออกไปคุมงานแต่ละวัน จุดไหนเห็นว่าสำคัญที่สุดต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษในขณะที่ไปทำการตรวจสอบ การที่จะนำแบบรูปม้วนใหญ่ ๆ ไปทั้งหมด    จะไม่สะดวก ควรทำแบบย่อให้เล็กลง พับและพกติดตัวไปได้สะดวก   ถ้าพบแบบรูปขัดแย้งกัน    เองรีบปรึกษาคณะกรรมการตรวจการจ้าง เพื่อพิจารณาชี้ให้ชัดลงไปว่าจะเห็นควรปฏิบัติอย่างไร ไม่ควรตัดสินใจเอง
                       1.3  ศึกษาความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้อย่างละเอียด รวมทั้งทำรายการย่อส่วนสำคัญ ๆ
                       1.4  เตรียมเครื่องมือสำหรับวัดตรวจสอบ เช่น ตลับเมตร
4/8
สรุปหน้าที่ผู้ควบคุมงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535
เขียนโดย  นายสงวน  ศรีสุพรรณ์
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557  เวลา 01:45 น. -
                    2.  ขั้นดำเนินการ
                   เมื่อผู้รับจ้างจะลงมือทำงาน จะต้องทำการชี้แจงวิธีการดำเนินงานให้เป็นที่เข้าใจตรงกันและให้เป็นไปตามขั้นตอนดังนี้
                   2.1 กำหนดเขตบริเวณการทำงาน
                             2.1.1 ที่กองวัสดุ
                             2.1.2  ที่พักคนงาน
                             2.1.3  ทางเข้า ออก
                             2.1.4  การใช้น้ำและไฟฟ้า
                             2.1.5  การกั้นเขตบริเวณก่อสร้าง
                             2.1.6  แนวปักผัง
                             2.1.7  ที่เก็บวัสดุที่ต้องป้องกันฝนและความชื้น
                   2.2  การปักผังอาคารที่จะก่อสร้างและเตรียมพื้นที่ การปักหมุด หรือแนวอาคารจุดที่ตอกเข็มศูนย์เสา และตรวจสอบเมื่อปักผังเสร็จเรียบร้อยแล้ว
                   2.3  ถ่ายระดับและกำหนดระดับให้เป็นหมุดถาวร และทำระดับ  + 0.00 กับระดับพื้นอาคารที่กำหนดให้ในวันชี้สถานที่มาไว้ที่ผังและบันทึกไว้ว่าระดับที่ต้องการจริง + เท่าไร       กับหลังผัง
                   2.4  การตอกเข็ม เมื่อมีการตอกเสาเข็มจะต้องมีคนงานชุดตอกเข็มเข้ามาดำเนินการจะต้องตรวจสอบปั้นจั่นเสาเข็ม  ต้องทำความเข้าใจก่อนลงมือตอกเข็ม เช่น การยกลูกตุ้ม ความลึกของเสาเข็ม การส่งเสาเข็ม การตัดหัวเข็ม
                   2.5  การขุดหลุม เตรียมที่กองดิน การกันดินพังทลาย
                   2.6  ดับเหล็กตะแกรงฐานราก เหล็กปลอก เหล็กเสา คาน
5/8
สรุปหน้าที่ผู้ควบคุมงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535
เขียนโดย  นายสงวน  ศรีสุพรรณ์
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557  เวลา 01:45 น. -
                   2.7  หล่อลูกปูนหนุนเหล็ก
                   2.8  ตัดหัวเข็มที่แตก หรือลงไม่ได้ระดับ
                   2.9  เทคอนกรีตหยาบ
                   2.10 วางตะแกรงฐานรากและเหล็กตอม่อ
                   2.11  ประกอบแบบฐานราก
                   2.12  เทคอนกรีตฐานราก
                   2.13  ประกอบแบบตอม่อเสา เสา และเทคอนกรีตตอม่อเสา เสา
                   2.14  การปรับระดับท้องคานคอดิน หรือคานรับพื้นติดดิน
                   2.15  ผูกเหล็กคานคอดิน หรือคานรับพื้นชั้นล่าง
                   2.16  ประกอบแบบคานคอดิน หรือคานรับพื้นชั้นล่าง
                   2.17  เทคอนกรีตคานคอดิน หรือคานรับพื้นชั้นล่าง
          การดำเนินงานที่กล่าวมา จำเป็นจะต้องตรวจสอบทุกขั้นตอน ให้เป็นไปตามแบบรูปและรายการ จุดสำคัญ ๆ ในช่วงนี้ก็คือจุดที่เป็นห้องน้ำ ระเบียง บันได  จะต้องเริ่มทำไปพร้อมกับการทำคานรับพื้นชั้นล่าง การลดระดับต่าง ๆ มักจะผิดพลาดในช่วงนี้เสมอ พื้นชั้นล่างจะเป็นลักษณะใด
ต้องทำพร้อมคานหรือทำภายหลังดูในรายการที่กำหนด ตำแหน่งเสาเอ็น เสาลอย จะต้องผูกเหล็กไว้ให้ตรงจุดก่อนเทคอนกรีต การทำบ่อเกรอะ-บ่อซึมก็เช่นเดียวกัน ถ้าอยู่ใต้พื้นอาคาร จะต้องทำก่อนเทคอนกรีตพื้นและต่อท่อไว้ให้เรียบร้อย
                   การถอดแบบ การซ่อมและการรักษาคอนกรีต ผู้ควบคุมงานจะต้องปฏิบัติตามรายการมาตรฐานประกอบแบบก่อสร้างโดยเคร่งครัด

6/8
สรุปหน้าที่ผู้ควบคุมงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535
เขียนโดย  นายสงวน  ศรีสุพรรณ์
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557  เวลา 01:45 น. -
                   เมื่องานโครงสร้างชั้นล้างผ่านพ้นไป จะเป็นงานทำเสารับพื้นชั้นที่  ถ้ามีชานพักบันไดเสาที่รับชานพักจะต้องทำแค่ท้องคานรับชานพัก และทำคานพื้นชานพักพร้อมทั้งบันได้       ค.ส.ล. ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน จึงทำเสาต่อขึ้นไปรับท้องคานชั้น  ห้ามเสียบเหล็กเอาไว้ทำภายหลัง  การผูกเหล็กและประกอบแบบเสาระดับความสูงต้องตรวจสอบให้เรียบร้อย ระดับคานซอย คานทับหลัง  จุดยึดผนังหรือจุดเชื่อมส่วนประกอบที่เป็นเหล็กต้องเตรียมเหล็กไว้ให้ครบถ้วน ตลอดจนท่อน้ำ ถ้าต้องฝังในเสาก็ต้องทำให้เรียบร้อยไปพร้อมกัน
                   ระดับประตู หน้าต่าง ช่องแสง ต้องตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนเทคอนกรีตเสาและเสียบเหล็กไว้ให้ตรงตำแหน่ง
                   2.18  การเทพื้นชั้นล่าง
                   2.19  การผูกเหล็กเสารับชั้น 2
                   2.20  การประกอบแบบเสา
                   2.21  การประกอบแบบชานพักและบันได
                   2.22  การประกอบแบบชานพักบันได และขั้นบันได
                   2.23  การผูกเหล็กบันได
                   2.24  การเทคอนกรีตเสารับคานรับพื้นชานพัก และรับคานรับพื้นชั้น 2
                   2.25  การเทคอนกรีตเสารับคานรับพื้นชานพักและรับคานรับพื้นชั้น 2 การผูกเหล็กการเทคอนกรีตพื้น คาน กันสาด ครีบนอน ต้องเทไปพร้อมกัน ถ้าพื้นเทจะวางตรงรับพื้นก่อนทำเสาชั้น 3 ก็ได้  เพื่อใช้รองรับวัสดุและสะดวกในการทำงานหรือจะปล่อยไว้ก่อนก็ได้ ถ้าพื้นสำเร็จรูปจะต้องทำก่อนหรือหลังก็ขึ้นอยู่กับการแบ่งงวด หรือความสมัครใจของผู้รับจ้าง  เพียงแต่ถ้าวางพื้นสำเร็จรูปต้องเทคอนกรีตทับหน้าให้เสร็จก่อนจึงจะดำเนินการต่อไปได้ อย่าปูพื้นทิ้งไว้เพราะอาจทำให้ชำรุดเสียหาย หรือสกปรก ทำความสะอาดให้เรียบร้อยได้ยากและบ่มคอนกรีตทันทีจากวันถัดไปหลักการเทคอนกรีตจนกว่าครบกำหนดตามรายการมาตรฐานประกอบแบบก่อสร้าง

7/8
สรุปหน้าที่ผู้ควบคุมงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535
เขียนโดย  นายสงวน  ศรีสุพรรณ์
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557  เวลา 01:45 น. -
                   2.26  เมื่อพ้นชั้น 2 เรียบร้อย แบบ้องคานหรือท้องพื้นครบอายุ ถอดแบบได้ก็ให้ดำเนินงานส่วนประกอบของชั้น 2 ได้เลย เช่น การตั้งวงกบ ก่ออิฐทำผนังกั้นห้อง ฉาบปูน
                   2.27  ดำเนินการการส่วนที่เป็นขั้นต่อไปจนถึงโครงหลังคา เมื่อจะเทคอกรีตโครงสร้างชั้นต่อไปในขณะที่ต้องถ่ายน้ำหนักลงสู่ชั้นต่ำกว่าจำเป็นจะต้องมีไม้ค้ำยันโครงสร้างที่รองรับให้แข็งแรงด้วย จนกว่าโครงสร้างส่วนบนจะรับน้ำหนักตัวเองได้
                   2.28  ตกแต่งฉาบปูน ติดตั้งอุปกรณ์ประตู-หน้าต่าง
                   2.29  เดินท่อต่าง ๆ บางครั้งต้องทำควบคู่กันไปกับการเทคอนกรีตโครงสร้าง
                   2.30  การเดินสายไฟฟ้า ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ติดสายล่อฟ้า
                   2.31  ทำครุภัณฑ์ ติดตั้งปั๊มน้ำ และสุขภัณฑ์
                   2.32  ทาสี
                   2.33  ติดตั้งเครื่องดับเพลิง
                   2.34  ทำความสะอาดทั่วไปรวมทั้งบริเวณและรื้อสิ่งปลูกสร้างชั่วคราว แล้วส่งงานงวดสุดท้ายทั้ง 34 ข้อ
เป็นตัวอย่างลำดับขั้นตอนของการทำงานและการตรวจสอบ ซึ่งบางกรณีอาจสลับขั้นตอนกันไปตามความจำเป็นหรือความเหมาะสมแต่ต้องไม่ข้ามขั้นตอนจนทำให้ขาดความมั่นคงแข็งแรง หรือเกิดความเสียหายแก่อาคารที่ก่อสร้าง
จุดเน้นและสาระสำคัญที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง
1.  การประกาศ จะต้องบอกรายละเอียดว่าเป็นสัญญาปรับราคาได้ (ค่า K)
2.  จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลางท้องถิ่น เพื่อจัดทำราคากลาง
3.  การคำนวณราคาตามสัญญาปรับค่า (ค่า K) ของแต่ละงวดหลังจากการส่งงานแต่ละงวดด้วย
4.  การชี้สถานที่และการกำหนดระดับ  + 0.00  ของอาคารที่จะก่อสร้างไว้อย่างถาวร
8/8
สรุปหน้าที่ผู้ควบคุมงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535
เขียนโดย  นายสงวน  ศรีสุพรรณ์
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557  เวลา 01:45 น. -
5.  สัญญาการจัดจ้าง รายละเอียดแนบท้ายสัญญา และรายการมาตรฐานประกอบแบบก่อสร้างต้องครบถ้วน
6.  การใช้วัสดุเทียบเท่า ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจการจ้าง จึงจะสามารถดำเนินการได้
7.  การเปลี่ยนแปลงแบบรูปรายการ ต้องให้คณะกรรมการตรวจการจ้างพิจารณาเห็นว่าเหมาะสมและต้องมีการเปรียบเทียบราคาการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แล้วเสนอให้ผู้มีอำนาจว่าจ้างอนุมัติและทำเอกสารแนบท้ายสัญญา
8.  การเปรียบเทียบราคาให้ใช้ราคาตามเอกสารคู่สัญญาทุกรายการ และคูณด้วยค่า FACTOR F
9.  การตรวจสอบวัสดุที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) จะต้องแสดงเครื่องหมายบนผลิตภัณฑ์ทุกผลิตภัณฑ์และมีเอกสารสำเนาใบประกอบ เช่น เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง พื้นสำเร็จรูป คอนกรีตบล็อกเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ฯลฯ เป็นต้น
10. การตรวจสอบความถูกต้องของวัสดุ-อุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนติดตั้ง เพื่อป้องกันความขัดแย้งเมื่อติดตั้งแล้วไม่ถูกต้อง เช่น วงกบ บานประตู-หน้าต่าง กระเบื้องมุงหลังคา ฯลฯ
11.  การส่งงาน เมื่อผู้รับจ้างทำหนังสือของส่งมอบงาน ผู้ควบคุมงานจะต้องตรวจสอบว่างานเสร็จ เรียบร้อยถูกต้องตามรูปแบบรายการสัญญาหรือไม่ และบันทึกความเห็นเสนอคณะกรรมการตรวจการจ้าง

12..  การตรวจรับงาน คณะกรรมการตรวจการจ้างจะต้องรีบตรวจรับมอบงานโดยเร็ว โดยเฉพาะ งวดสุดท้ายให้ตรวจสอบให้เป็นไปตามสัญญาหากงานเสร็จหรือไม่เสร็จตามงวดงานให้บันทึกให้ละเอียดหากไม่เสร็จให้แจ้งผู้รับจ้างทราบ